Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

กมธ.สวัสดิการสังคม ประชุมแลกเปลี่ยนความคิด ประทับใจมาตรการ – โมเดลประสานข้อมูลให้การช่วยเหลือของ ก.แรงงาน

pll_content_description

17 พฤศจิกายน 2554 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ได้ต้อนรับคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนางนันทนา ทิมสุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ที่ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของกระทรวงแรงงาน พร้อมทั้งแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555 และติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงแรงงานในการจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยว่ากระทรวงแรงงานมีมาตรการแนวทางให้การเยียวยาช่วยเหลือเช่นใดบ้าง
             17 พฤศจิกายน 2554  นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ได้ต้อนรับคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนางนันทนา ทิมสุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ที่ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของกระทรวงแรงงาน พร้อมทั้งแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555 และติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงแรงงานในการจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยว่ากระทรวงแรงงานมีมาตรการแนวทางให้การเยียวยาช่วยเหลือเช่นใดบ้าง

            

 

 Download Image

 

             ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ เน้นไปในด้านสวัสดิการ อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ซึ่งกระทรวงแรงงานมีสำนักงานประกันสังคมคอยดูแลด้านสุขภาพอนามัยของผู้ประกันตน มีโรงพยาบาลในเครือข่ายสำนักงานประกันสังคม ขณะนี้ได้จัดเป็นคาราวานเคลื่อนที่เพื่อให้บริการไปยังจังหวัดที่ประสบอุทกภัยได้ครอบคลุมทั่วถึงถึง 16 สาย


             และสิ่งที่คณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้เป็นกังวลเกี่ยวกับการที่อาจจะมีสถานประกอบการบางแห่งที่ไม่สามารถคงสภาพการจ้างได้นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า ถ้าสถานประกอบการเหล่านั้นไม่อาจคงสภาพการจ้างได้ ทางสำนักงานประกันสังคมก็มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันการว่างงาน หรือถ้าไม่ถูกเลิกจ้าง แต่ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตสินค้า สร้างผลผลิตออกมาได้ ก็กำชับว่าจะต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเดิม  และในขณะนี้เราก็มีความชัดเจนในการเจรจากับสถานประกอบการให้รักษาสภาพการจ้าง แต่ก็มีเพียงส่วนน้อย จำนวน 15 แห่ง ที่เลิกจ้าง อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10 แห่ง จังหวัดปทุมธานี 4 แห่ง และจังหวัดฉะเชิงเทราอีก 1 แห่ง


              “ในวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายนนี้ กระทรวงแรงงานจะออกพื้นที่ไปยังจังหวัดอยุธยา นำร่องในการจัดแคมเปญบิ๊กคลีนนิงเดย์ ทำความสะอาดใหญ่หลังน้ำแห้งแล้ว เพื่อเรียกขวัญและกำลังใจของทุกๆ ฝ่าย พร้อมกับเป็นการประกาศให้ทราบว่าเราจะเปิดโรงงานอีกครั้งได้แล้ว แห่งแรกที่จะไปคือนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จากนั้นก็จะทยอยไปยังนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และที่อื่นๆ” นายเผดิมชัยกล่าว


              อีกประเด็นหนึ่งที่คณะกรรมาธิการฯ เป็นกังวลในเรื่องการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานระบุว่า เรื่องนี้เป็นที่น่ายินดีว่านายจ้างให้ความใส่ใจพยายามติดต่อลูกจ้างเพื่อนำค่าจ้างไปจ่ายให้ แม้ที่ตนลงพื้นที่ที่จังหวัดนครปฐม ก็ปรากฏว่ามีนายจ้างบางรายนำค่าจ้างไปจ่ายให้แรงงานที่ไปอาศัยตามศูนย์พักพิงด้วย แต่มีเรื่องวิตกเรื่องแรงงานต่างด้าวกลับประเทศต้นทางไปร่วมแสนคน ทราบมาว่าเขากลัวน้ำท่วม ก็คงต้องอาศัยแคมเปญบิ๊กคลีนนิงเดย์ประกาศให้ทราบทั่วๆ กันต่อไป


               ด้านนางนันทนา ทิมสุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม กล่าวว่า คณะฯ เป็นคณะกรรมาธิการชุดใหม่ จึงต้องเข้ามาทำความรู้จักกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมาธิการฯ  รวมถึงกระทรวงแรงงาน ซึ่งหลังจากได้รับทราบถึงมาตรการต่างๆ ของกระทรวงแรงงานที่ดูแลแรงงาน ผู้ประกอบการแล้วจึงคลายกังวลบ้าง แต่คณะฯ ก็ขอให้มีการประสานงานจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ ของลูกจ้าง นายจ้าง เพื่อประสานการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบหลังสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติเพื่อให้นายจ้างมีแรงงาน และลูกจ้างมีงานทำต่อไป ซึ่งจากการประชุมร่วมกันก็ทราบว่ากระทรวงฯ มีแนวคิดการรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบแล้ว ซึ่งหากกระทรวงแรงงานมีมาตรการรอบด้านตามที่รายงานและปฏิบัติไปตามนั้นก็น่าจะครอบคลุมทุกๆ สิ่งแล้ว


แรงงานไทย  “ต้นทาง-ต้นทุน”  เศรษฐกิจไทย

 

Tags:

TOP