Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

สวัสดีครับ ผมได้ทำงานให้กับบริษัท A เป็นเวลา 2 ปี เกือบ 5 เดือนติดต่อกัน(เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 19 มค. 2555 ถึง 31 พค. 2557) โดยบริษัทได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนเอาไว้ว่า 1. ในปีแรกลูกจ้างไม่มีสิทธิในการลาพักผ่อน 2. หลังจากปีแรกลูกจ้างจะมีสิทธิในการพักผ่อนตามอัตราส่วนที่ทำงานจริง โดยคำนวนหลังจากวันที่เข้าทำงานครบ 1 ปี 3. ลูกจ้างจะได้สิทธิลาพักผ่อนปีละ 10 วัน ซึ่งตอนนี้ผมได้ยื่นลาออกจากบริษัท (ยื่นลาออกในวันที่ 24 เมย. มีผลในวันที่ 31 พค. 2557) โดยผมได้ใช้สิทธิในการลาพักผ่อนตั้งแต่เข้าทำงานมาดังนี้ 1. ปีแรกไม่ได้ใช้การลา (เนื่องจากบริษัทไม่ยอมให้ลา) 2. ปีที่สองผมบริษัทให้ผมลาหยุดพักผ่อนได้ 9 วัน (คำนวนตามอัตราส่วนนับตั้งแต่วันที่ 19 มค. 2556 – 31 ธค 2556) 3. ปีที่สามผมใช้ลาหยุดพักผ่อนไปทั้งหมด 10 วัน ก่อนจะมีการลาออก เมื่อผมลาออกแล้ว บริษัทได้แย้งว่าผมใช้วันลาหยุดพักผ่อนเกินจากที่ผมควรจะได้ (คำนวนจากวันที่ 1 มค. 2557 – 31 พค. 2557 ควรจะได้วันหยุด = 4 วัน) บริษัทจึงแจ้งว่าในเดือนสุดท้าย บริษัทจะขอทำการคิดเงินเดือนใหม่(หักเงิน) เนื่องจากการหยุดเกินของผม ซึ่งผมก็ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องสิทธิในการหยุดพักผ่อนของผม ที่ทำงานมา 2 ปีเกือบ 5 เดือนว่าแท้จรองแล้วผมควรจะได้รับสิทธิการลาหยุดเท่ากับ 24 วัน แต่บริษัทแย้งว่าผมมีสิทธิเพียงแค่ 13 วัน(9+4) จนเรื่องนี้ผมถูกบริษัทเรียกไปพูดไกล่เกลี่ยกันจนได้ข้อสรุป แต่สุดท้ายวันนี้บริษัทกลับอ้างว่าตอนที่ผมไกล่เกลี่ย ผมได้สรุปแค่ให้บริษัทยกยอดวันลาพักร้อนที่เกินเป็นเวลา 2 วันไปเป็นใช้ลากิจแทนแต่ที่เกินอีก 4 วันนั้นผมยอมรับให้นำไปหักเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้ (ซึ่งจริง ๆ แล้วผมไม่ได้ยอมรับเรื่องนี้เลย) หลักจากผมถูกบริษัทแย้งมาดังนี้ ผมจึงเริ่มคิดว่าการไกล่เกลี่ยคงไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับผมแล้วจึงอยากจะขอคำแนะนำกับทางกระทรวงแรงงานซักหน่อยครับ 1. สิทธิการลาหยุดพักผ่อนของผมที่ทำงานมาทั้งหมด 2 ปีกับเกือบ 5 เดือน ผมควรได้เพียง 13 วันตามที่บริษัทอ้างจริงหรือครับ ? 2. ถ้าผมจะร้องเรียนบริษัท เห็นว่าจะต้องร้องเรียนผ่าน "กระทรวงแรงงาน" ไม่ก็ "ศาลแรงงาน" ใช่หรือไม่ครับ และทั้งสองช่องทางนั้นผมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างไรหรือไม่ครับ ? 3. การร้องเรียนผ่าน "กระทรวงแรงงาน" สามารถทำในวันเสาร์ได้หรือไม่ครับ 4. บริษัทสามารถฟ้องร้องผมกลับว่าทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง ได้หรือไม่ครับ เพราะทางบริษัทขู่ผมมาว่าหากผมฟ้องร้องจนทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง เขาจะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผมครับ รวมถึงหากผมแพ้คดีการฟ้องร้องนี้ บริษัทสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผมในเรื่องใดได้บ้างครับ ผมเข้าไปพูดกับบริษัทโดยยกกฎหมาย พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 30, 64, 67, 144 และ 146 พร้อมทั้งคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมคุ้มครองแรงงาน (สายด่วน 1546) แต่ทางบริษัทอ้างว่าบริษัทร่างกฎระเบียบมาจากทนายที่มีชื่อเสียติดอันดับ 10 ของประเทศไทย หากผมจะกล่าวหาว่ากฎระเบียบของเขาผิดกฎหมายผมจะต้องพาที่ปรึกษาทางกฎหมายของผมเข้าพบและพูดคุยกับบริษัทโดยตรง สุดท้ายคุยกันไม่รู้เรื่องเลยกลายเป็นเหตุดังที่กล่าวเอาไว้แล้วครับ ขอบคุณครับ

TOP