ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
การลาป่วย ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่หนึ่งปีต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน
ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตารายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา ๔๑ มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างในเรื่องวันลาป่วย ท่านสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่หรือจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือต่อไป สอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่หรือจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือต่อไป สอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติม โทร. 02-2457020 สายด่วน 1546 ในวันและเวลาราชการ
ค่าชดเชย (กรณีสอบถามเรื่องการเลิกจ้าง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีที่นายจ้างให้ออกจากงานหรือเลิกจ้างนั้นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างตามอายุการทำงาน ดังนี้
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ
3 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5.ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้
1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลุกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลุกจ้างบอกเลิกสัญญา หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง ท่านสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ /จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือต่อไป สอบถามหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงาน โทร. 02-2457020 สายด่วน 1546