Skip to main content
สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
วันที่ 20 กันยายน 2554
เรื่อง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
เรียน ฯพณฯ เผดิมชัย สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน
กระผมใคร่ขอเสนอแนวทางและเหตุผล เพื่อให้การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ให้เกิดประโยชน์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ตามนโยบายของรัฐบาลนี้ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีมาก
1. ค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน : ควรหมายรวมถึงค่าจ้างที่จ่ายเป็นเงินและสวัสดิการต่างๆ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ก) เจตนารมณ์ของค่าจ้างขั้นต่ำ คือ ให้มีรายได้อย่างน้อยเพียงพอต่อการยังชีพ สำหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็น (ขาดเสียมิได้) เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเสื้อผ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯ
ดังนั้นหากลูกจ้างได้รับสวัสดิการใดๆ หมายถึง นายจ้างได้จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแทนลูกจ้าง
ข) การถือสวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จะเป็นการส่งเสริมให้นายจ้างเพิ่มสวัสดิการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของลูกจ้าง
หากไม่ถือสวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จะทำให้นายจ้างตัดลดหรือไม่จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
ค) เพื่อให้เป็นธรรมแก่ลูกจ้างและนายจ้าง ควรกำหนดมูลค่าของสวัสดิการแต่ละชนิด และให้ลูกจ้างมีสิทธิเลือกใช้สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้หรือรับเงิน ซึ่งจะมีข้อดีคือ
– ส่งเสริมให้นายจ้าง จัดสวัสดิการที่ดี
– ส่งเสริมให้ลูกจ้าง ทำงานในภูมิลำเนาของตน เพราะได้ประโยชน์จากสวัสดิการ โดยเฉพาะค่าเดินทาง ที่พักอาศัย อาหาร ฯ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคม (สามี ภรรยา ลูก ต่างคนต่างอยู่)
2. กำหนดการเริ่มใช้บังคับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ควรเป็นแบบสมัครใจภายใต้กรอบเวลา เช่นภายใน 1 – 3 ปี โดยรัฐจัดให้มีมาตรการจูงใจ เช่น ใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันที่เริ่ม (เริ่มเร็วได้สิทธิประโยชน์ก่อน และได้สิทธิยาวนานกว่า)
3. การคำนวณส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่ม ควรใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศก่อนการปรับเพิ่มค่าแรงตามนโยบายครั้งนี้เป็นฐานในการคำนวณ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นายจ้างที่จ่ายค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ก่อน
4. แนวทางแก้ปัญหาที่จะกระทบต่อการลงทุนในพื้นที่ห่างไกลโดยการให้สิทธิประโยชน์พิเศษ เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน เป็นต้น เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนในพื้นที่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร และตัวเมืองใหญ่ในภูมิภาค
5. การกำหนดขนาดกิจการ SME : ต้องไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนพนักงาน เพราะพนักงานยิ่งมากผลกระทบในการปรับเพิ่มค่าจ้างยิ่งมาก อีกทั้งยังจะกระทบต่อการจ้างงานกล่าวคือ หากกำหนดขนาด SME ต้องมีพนักงานไม่เกิน 200 คน จะส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงาน ในทางตรงกันข้ามควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่ม และหากมีการจ้างงานเพิ่มก่อนมีประกาศ ส่วนที่เพิ่มควรได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มทวีคูณ
จึงเรียนเสนอมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ด้วยความเคารพ
นายบุญญาเกียรติ เนตรจรัสแสง
pll_you_are_here
- เมนูหลัก
- FAQ
- วันที่ 20 กันยายน 2554
เรื่อง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
เรียน ฯพณฯ เผดิมชัย สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน
กระผมใคร่ขอเสนอแนวทางและเหตุผล เพื่อให้การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ให้เกิดประโยชน์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ตามนโยบายของรัฐบาลนี้ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีมาก
1. ค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน : ควรหมายรวมถึงค่าจ้างที่จ่ายเป็นเงินและสวัสดิการต่างๆ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ก) เจตนารมณ์ของค่าจ้างขั้นต่ำ คือ ให้มีรายได้อย่างน้อยเพียงพอต่อการยังชีพ สำหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็น (ขาดเสียมิได้) เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเสื้อผ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯ
ดังนั้นหากลูกจ้างได้รับสวัสดิการใดๆ หมายถึง นายจ้างได้จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแทนลูกจ้าง
ข) การถือสวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จะเป็นการส่งเสริมให้นายจ้างเพิ่มสวัสดิการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของลูกจ้าง
หากไม่ถือสวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จะทำให้นายจ้างตัดลดหรือไม่จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
ค) เพื่อให้เป็นธรรมแก่ลูกจ้างและนายจ้าง ควรกำหนดมูลค่าของสวัสดิการแต่ละชนิด และให้ลูกจ้างมีสิทธิเลือกใช้สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้หรือรับเงิน ซึ่งจะมีข้อดีคือ
– ส่งเสริมให้นายจ้าง จัดสวัสดิการที่ดี
– ส่งเสริมให้ลูกจ้าง ทำงานในภูมิลำเนาของตน เพราะได้ประโยชน์จากสวัสดิการ โดยเฉพาะค่าเดินทาง ที่พักอาศัย อาหาร ฯ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคม (สามี ภรรยา ลูก ต่างคนต่างอยู่)
2. กำหนดการเริ่มใช้บังคับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ควรเป็นแบบสมัครใจภายใต้กรอบเวลา เช่นภายใน 1 – 3 ปี โดยรัฐจัดให้มีมาตรการจูงใจ เช่น ใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันที่เริ่ม (เริ่มเร็วได้สิทธิประโยชน์ก่อน และได้สิทธิยาวนานกว่า)
3. การคำนวณส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่ม ควรใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศก่อนการปรับเพิ่มค่าแรงตามนโยบายครั้งนี้เป็นฐานในการคำนวณ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นายจ้างที่จ่ายค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ก่อน
4. แนวทางแก้ปัญหาที่จะกระทบต่อการลงทุนในพื้นที่ห่างไกลโดยการให้สิทธิประโยชน์พิเศษ เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน เป็นต้น เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนในพื้นที่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร และตัวเมืองใหญ่ในภูมิภาค
5. การกำหนดขนาดกิจการ SME : ต้องไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนพนักงาน เพราะพนักงานยิ่งมากผลกระทบในการปรับเพิ่มค่าจ้างยิ่งมาก อีกทั้งยังจะกระทบต่อการจ้างงานกล่าวคือ หากกำหนดขนาด SME ต้องมีพนักงานไม่เกิน 200 คน จะส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงาน ในทางตรงกันข้ามควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่ม และหากมีการจ้างงานเพิ่มก่อนมีประกาศ ส่วนที่เพิ่มควรได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มทวีคูณ
จึงเรียนเสนอมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ด้วยความเคารพ
นายบุญญาเกียรติ เนตรจรัสแสง