Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

ก.แรงงาน ร่วมประชุมการเคลื่อนย้ายแรงงานฯ ภายใต้ข้อตกลงร่วมอาบูดาบี ครั้งที่ 3

pll_content_description

      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมปลัดกระทรวง เข้าประชุมเพื่อหารือ กลุ่มประเทศเอเชีย 11 ประเทศและกลุ่มตะวันออกกลาง 6 ประเทศเพื่อหาแนวทางการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว เพื่อไปทำงานให้ได้รับการคุ้มครองอย่างมีมาตรฐาน โดยไทยเห็นสอดคล้องให้มีการเตรียมความพร้อมแรงงาน ทั้งในฐานะประเทศผู้รับและผู้ส่งแรงงาน




Preview

Download Images

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมปลัดกระทรวง เข้าประชุมเพื่อหารือ กลุ่มประเทศเอเชีย 11 ประเทศและกลุ่มตะวันออกกลาง 6 ประเทศเพื่อหาแนวทางการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว เพื่อไปทำงานให้ได้รับการคุ้มครองอย่างมีมาตรฐาน โดยไทยเห็นสอดคล้องให้มีการเตรียมความพร้อมแรงงาน ทั้งในฐานะประเทศผู้รับและผู้ส่งแรงงาน 
             พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อม นายนคร ศิลปอาชาปลัดกระทรวงแรงงาน เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม The 3rd Ministerial Consultation of the Abu Dhabi Dialogue (ADD) ณ ประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 โดยการประชุมนี้ มีรัฐมนตรีด้านแรงงานของประเทศสมาชิก ADD เข้าร่วมประชุม ได้มีการหารือความร่วมมือในด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และได้ให้การรับรองเอกสาร Kuwait Declaration ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้คือที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการนำร่อง Pilot Project on Skill Development, Documentation and Recognition ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศ GCC (ประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง Gulf Cooperation Council) ๖ ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ โดยการฝึกอบรม การรับรองคุณวุฒิ และการเทียบคุณวุฒิ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่ม GCC           
            นอกจากนี้ที่ประชุมได้ให้การรับรองโครงการ Comprehensive Information and Orientation Program for Migrant Workers ที่นำเสนอโดยประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมแรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ในขั้นตอนของการเตรียมตัวภายในประเทศ การปฐมนิเทศก่อนเดินทางและเมื่อเดินทางถึงประเทศผู้รับ และการเตรียมพร้อมในการคืนสู่สังคมของประต้นทาง ซึ่งประเทศไทยได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับทั้งในฐานะของประเทศผู้ส่งแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงาน
            โดยรับทราบแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่อง ระบบการคุ้มครองค่าจ้าง กลไกการระงับข้อขัดแย้ง call center การปฐมนิเทศก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ระบบการจ้างงานผ่าน Web base และการแบ่งปันข้อมูลการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทั้งนี้ที่ประชุมยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณานำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปปรับใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนข้อเสนอโครงการศึกษาวิจัยของ IOM Field research project on the transnational recruitment industry in the Asia-GCC corridor ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องอุตสาหกรรมบริษัทจัดหางานในมุมมองเชิงธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาการเก็บค่าหัวที่สูงและการเอาเปรียบแรงงาน 
            ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนข้อเสนอของ ILO ในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ADD ในการลดต้นทุนการเคลื่อนย้ายแรงงาน ป้องกันการเอาเปรียบแรงงานในขั้นตอนการจัดหางาน และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งได้ให้การรับรองโครงสร้างการดำเนินงานของ ADD ซึ่งกำหนดโครงสร้าง และกลไกการดำเนินงานของ ADD โดยประธานจะมีวาระครั้งละ ๒ ปี มีคณะกรรมการบริหารงาน กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี ๒ ปีครั้ง และกำหนดหน้าที่ของสำนักงานถาวร  ท้ายสุดที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือของประเทศสมาชิก ADD ในการสนับสนุนการดำเนินงานของ ADD บนพื้นฐานของความสมัครใจ 
            Abu Dhabi Dialogue (ADD) เป็นกระบวนการความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างประเทศผู้ส่งออกแรงงานในเอเซีย ๑๑ ประเทศ (หรือที่เรียกว่ากระบวนการโคลัมโบ (Colombo Process: CP) ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม กับประเทศผู้รับแรงงานในกลุ่มตะวันออกกลาง (Gulf Cooperation Council: GCC) ๖ ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์  โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นเวที เพื่อหารือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานชั่วคราว (temporary labour migration) เพื่อไปทำงาน
 
*********************************
กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
28 พฤศจิกายน 2557

Tags:

TOP