รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ชลบุรี รับฟังข้อเสนอจากหลายภาคส่วนไปศึกษารายละเอียด ในเบื้องต้น เห็นพ้องให้ท้องถิ่นร่วมบริหารแรงงานต่างด้าว เตรียมให้ จ.ชลบุรีนำร่องจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว กำหนดแนวทางปฏิบัติหลัง 31 ต.ค.57 ย้ำ ต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายงานจึงสำเร็จ ไม่ให้กระทบความมั่นคง วิถีชีวิตคนไทย เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนไม่มีแนวคิดเปลี่ยนนโยบาย ตั้งธงสนับสนุนแรงงานให้เพียงพอกับงานและความต้องการของผู้ประกอบการ พร้อมให้แรงงานที่มีความสามารถเข้าสู่การทำงาน
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในภารกิจการประชุมและรับฟังสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวในจังหวัดชลบุรี ตรวจเยี่ยมศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) พบปะนักลงทุนและตรวจเยี่ยมบริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี โดยกล่าวว่า วันนี้ได้รับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางในดำเนินการการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวภายหลังสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคมนี้ไปแล้ว ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งหลายภาคส่วนมีความเห็นตรงกันว่าจะกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารแรงงานต่างด้าว ซึ่งกระทรวงแรงงานจำเป็นต้องนำข้อเสนอดังกล่าวกลับไปศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม และจะสรุปความคิดเห็นนำเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องตามแนวปฏิบัติให้เหมาะสม ทั้งนี้การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวจะต้องพยายามจัดการเพื่อไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งแรงงานต่างด้าวมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามชลบุรี ถือเป็นจังหวัดตัวอย่างนำร่องในเรื่องการกระจายอำนาจการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสู่ท้องถิ่นได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้เรากำลังทำงานก้าวสู่มิติใหม่ รัฐบาลทำงาน 3 เรื่อง คือ การบริหารราชการแผ่นดินด้วยความโปร่งใส การปฏิรูปประเทศ และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้คนในชาติ วันนี้เป็นโอกาสไม่ใช่วิกฤติ กระทรวงแรงงานต้องเปิดรับ งานจะสำเร็จได้ต้องมีเครือข่าย เราออกนโยบายกำกับดูแลประสานงาน กระทรวงพยามยามปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนเรื่องที่ขอให้ขยายการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวออกไปอีกภายหลังวันที่ 31 ตุลาคมนั้น คงไม่มีนโยบายที่จะขยาย เพราะถ้าขยายแสดงว่าจังหวัดนั้นไม่มีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้แรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกำชับให้ข้าราชการปรับตัวพูดคุยง่ายๆ ให้ประชาชนเข้าใจ ส่วนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเราอาจจัดโซนนิ่งบางจังหวัดเพื่อให้คนไทยไปไหนมาไหนได้สะดวก คำนึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
ส่วนประเด็นที่ได้พบปะกับนักลงทุน ได้เล่าให้ฟังว่าการลงพื้นที่ในจังหวัดชลบุรีวันนี้เพื่อติดตามผลการดำเนินการของศูนย์ OSS ที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึง 31 ตุลาคมที่จะถึงนี้ และการปฏิบัติภายหลังวันที่ 31 ตุลาคมนี้ควรจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องเรียนว่าที่ผ่านมาไทยมีปัญหามากมายพอสมควรทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหารราชการแผ่นดิน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนปัญหาแรงงานซึ่งก็เป็นปัญหาหนึ่ง แต่เราไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอะไร เพียงแต่เพิ่มการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เราต้องคิดว่าอะไรเป็นปัญหาอุปสรรค หากอุปสรรคเกิดจากกฎหมาย เราจะแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่จะแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมไม่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนให้โดยเร็ว ส่วนกรณีของแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ผู้ประกอบการต้องการให้เข้ามาทำงานตามโครงการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งตามที่ประชุมบอร์ดบีโอไอมีผู้ประกอบการเสนอผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานฝึกทักษะฝีมือให้แรงงานต่างด้าวนั้น เรื่องนี้ต้องหาข้อยุติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สอท. และสภาหอการค้าไทยอีกครั้ง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ตอบสนองความเป็นเจ้าบ้านของไทยและตอบสนองนักลงทุนบนความสมดุล
“จากนี้ไปกระทรวงแรงงานต้องเปลี่ยนบทบาทที่จะรับฟัง ประมวลปัญหาสู่กระบวนการแก้ไข ตอบสนองผู้ประกอบการ เราจะจัดหาแรงงานให้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ทำอย่างไรให้แรงงานไทยที่มีความสามารถเข้าสู่การทำงาน จัดหาแรงงานต่างด้าวให้เพียงพอกับงาน บริหารจัดการแรงงานให้สมดุลทั้งด้านความมั่นคงของประเทศ สังคม โปร่งใส ปราศจากหัวคิว รัฐตั้งธงสนับสนุนแรงงานให้เพียงพอกับผู้ประกอบการ หากไม่เพียงพอพร้อมจะนำเข้าแรงงานต่างชาติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้เรากำลังทำงานก้าวสู่มิติใหม่ รัฐบาลทำงาน 3 เรื่อง คือ การบริหารราชการแผ่นดินด้วยความโปร่งใส การปฏิรูปประเทศ และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้คนในชาติ วันนี้เป็นโอกาสไม่ใช่วิกฤติ กระทรวงแรงงานต้องเปิดรับ งานจะสำเร็จได้ต้องมีเครือข่าย เราออกนโยบายกำกับดูแลประสานงาน กระทรวงพยามยามปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนเรื่องที่ขอให้ขยายการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวออกไปอีกภายหลังวันที่ 31 ตุลาคมนั้น คงไม่มีนโยบายที่จะขยาย เพราะถ้าขยายแสดงว่าจังหวัดนั้นไม่มีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้แรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกำชับให้ข้าราชการปรับตัวพูดคุยง่ายๆ ให้ประชาชนเข้าใจ ส่วนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเราอาจจัดโซนนิ่งบางจังหวัดเพื่อให้คนไทยไปไหนมาไหนได้สะดวก คำนึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
ส่วนประเด็นที่ได้พบปะกับนักลงทุน ได้เล่าให้ฟังว่าการลงพื้นที่ในจังหวัดชลบุรีวันนี้เพื่อติดตามผลการดำเนินการของศูนย์ OSS ที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึง 31 ตุลาคมที่จะถึงนี้ และการปฏิบัติภายหลังวันที่ 31 ตุลาคมนี้ควรจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องเรียนว่าที่ผ่านมาไทยมีปัญหามากมายพอสมควรทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหารราชการแผ่นดิน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนปัญหาแรงงานซึ่งก็เป็นปัญหาหนึ่ง แต่เราไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอะไร เพียงแต่เพิ่มการทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เราต้องคิดว่าอะไรเป็นปัญหาอุปสรรค หากอุปสรรคเกิดจากกฎหมาย เราจะแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่จะแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมไม่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนให้โดยเร็ว ส่วนกรณีของแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ผู้ประกอบการต้องการให้เข้ามาทำงานตามโครงการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งตามที่ประชุมบอร์ดบีโอไอมีผู้ประกอบการเสนอผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานฝึกทักษะฝีมือให้แรงงานต่างด้าวนั้น เรื่องนี้ต้องหาข้อยุติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สอท. และสภาหอการค้าไทยอีกครั้ง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ตอบสนองความเป็นเจ้าบ้านของไทยและตอบสนองนักลงทุนบนความสมดุล
“จากนี้ไปกระทรวงแรงงานต้องเปลี่ยนบทบาทที่จะรับฟัง ประมวลปัญหาสู่กระบวนการแก้ไข ตอบสนองผู้ประกอบการ เราจะจัดหาแรงงานให้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ทำอย่างไรให้แรงงานไทยที่มีความสามารถเข้าสู่การทำงาน จัดหาแรงงานต่างด้าวให้เพียงพอกับงาน บริหารจัดการแรงงานให้สมดุลทั้งด้านความมั่นคงของประเทศ สังคม โปร่งใส ปราศจากหัวคิว รัฐตั้งธงสนับสนุนแรงงานให้เพียงพอกับผู้ประกอบการ หากไม่เพียงพอพร้อมจะนำเข้าแรงงานต่างชาติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
—————————-
กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/
ชนินทร เพ็ชรทับ – ข่าว/สมภพ ศีลบุตร- ภาพ/
10 ตุลาคม 2557