“บิ๊กอู๋” สั่งติดตามผลกระทบการปรับขึ้นค่าจ้าง พร้อมมาตรการช่วยเหลือลูกจ้าง นายจ้างจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ เผย ค่าจ้างขั้นต่ำสอดคล้องตามสภาวการณ์เศรษฐกิจ แนะสถานประกอบการปรับตัวเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ผู้ประกอบการ ชี้ รัฐ เจ้าของธุรกิจ แรงงาน ต้องร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิต ด้านสหภาพแรงงาน ยอมรับค่าจ้างปี 61 สูงกว่าทุกปี แนะรัฐคุมราคาสินค้า หนุนสถานประกอบการทำโครงสร้างค่าจ้างประจำปี พยุงธุรกิจรายย่อยหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ
นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ได้มีมติให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ปรับขึ้นตั้งแต่ 5-22 บาท ใน 7 กลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไปนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีข้อสั่งการให้ติดตามสถานการณ์และมาตรการความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง นายจ้างและสถานประกอบการ
ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นตัวแปรที่สำคัญในการดูแลแรงงานแรกเข้า สอดคล้องตามสภาวการณ์กับมิติเชิงพื้นที่เช่น จังหวัด EEC ที่มีค่าจ้างขั้นต่ำสูงซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป็นต้นอุตสาหกรรมขนาดเล็กต้องปรับตัวในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อให้แรงงานเดินหน้าไปกับเทคโนโลยีได้ โดยมองทางเลือกในการผลิตสินค้าและบริการ วิธีการลดต้นทุน การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น
นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ได้มีมติให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ปรับขึ้นตั้งแต่ 5-22 บาท ใน 7 กลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไปนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีข้อสั่งการให้ติดตามสถานการณ์และมาตรการความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง นายจ้างและสถานประกอบการ
ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นตัวแปรที่สำคัญในการดูแลแรงงานแรกเข้า สอดคล้องตามสภาวการณ์กับมิติเชิงพื้นที่เช่น จังหวัด EEC ที่มีค่าจ้างขั้นต่ำสูงซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป็นต้นอุตสาหกรรมขนาดเล็กต้องปรับตัวในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อให้แรงงานเดินหน้าไปกับเทคโนโลยีได้ โดยมองทางเลือกในการผลิตสินค้าและบริการ วิธีการลดต้นทุน การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น
ดร.บวรนันท์ กองกัลยา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริหาร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ อยากให้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือแม้แต่คนงาน ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ภาครัฐเองต้องช่วยในการพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจของคนในทุกรูปแบบและอย่างเป็นรูปธรรม ธุรกิจเอง ผู้ประกอบการเอง อยู่ได้ด้วยคน ถ้าคนเก่ง องค์กรก็เก่ง จะพัฒนาความรู้ความสามารถคนในองค์กรของตัวเองให้เป็นคนทำงานที่มีความรู้ทักษะอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันแรงงานจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทที่ท้าทายของประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ในมุมของผู้ประกอบการมองว่า หัวใจสำคัญของการสร้าง Productivity เพิ่ม คือ การสร้าง Produce Service บริการของตัวเองให้มีมูลค่าเพิ่ม ทำอย่างไรให้ SMEs มีการดำเนินธุรกิจของตัวเองที่เข้มแข็ง โดยความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กร จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผลิตภาพแรงงานขององค์กรได้
ขณะที่ นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างปี 2561 แต่อยากจะให้เปลี่ยนนิยามของ ค่าจ้างขั้นต่ำ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 87 เป็น ค่าจ้างแรกเข้า และให้สถานประกอบการมีโครงสร้างอัตราค่าจ้างประจำปี ซึ่งจะขึ้นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ค่าครองชีพที่ลูกจ้างอยู่ได้ แต่เป็นค่าจ้างแรกเข้า เมื่อค่าจ้างขั้นต่ำสูงขึ้นแล้ว ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือก็ต้องปรับสูงขึ้นด้วย เพื่อเป็นแรงงานจูงใจให้แรงงานที่ไม่มีฝีมือได้พัฒนาฝีมือของตนเองให้มีทักษะที่สูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย ยังมีความเห็นว่า การปรับค่าจ้าง ปี 2561 สูงสุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ปัญหา คือ เมื่อค่าจ้างขึ้น ค่าครองชีพจะขึ้นตามมา รัฐบาลจึงต้องควบคุมราคาสินค้า และพยุงผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นเส้นเลือดฝอยเพื่อหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ
ขณะที่ นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างปี 2561 แต่อยากจะให้เปลี่ยนนิยามของ ค่าจ้างขั้นต่ำ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 87 เป็น ค่าจ้างแรกเข้า และให้สถานประกอบการมีโครงสร้างอัตราค่าจ้างประจำปี ซึ่งจะขึ้นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ค่าครองชีพที่ลูกจ้างอยู่ได้ แต่เป็นค่าจ้างแรกเข้า เมื่อค่าจ้างขั้นต่ำสูงขึ้นแล้ว ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือก็ต้องปรับสูงขึ้นด้วย เพื่อเป็นแรงงานจูงใจให้แรงงานที่ไม่มีฝีมือได้พัฒนาฝีมือของตนเองให้มีทักษะที่สูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย ยังมีความเห็นว่า การปรับค่าจ้าง ปี 2561 สูงสุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ปัญหา คือ เมื่อค่าจ้างขึ้น ค่าครองชีพจะขึ้นตามมา รัฐบาลจึงต้องควบคุมราคาสินค้า และพยุงผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นเส้นเลือดฝอยเพื่อหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ
———————————-
กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/
ชนินทร เพ็ชรทับ – ข่าว/
ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร – ภาพ/
27 มกราคม 2561