Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

พล.ต.อ.อดุลย์ นำคณะ กมธ.แรงงาน วุฒิสภา หารือ รมว.พิพัฒน์ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ มุ่งขับเคลื่อนนโยบายแรงงานให้มีประสิทธิภาพ

pll_content_description

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปและหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการแรงงาน โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ภารกิจของ
วุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และในวันนี้ผมพร้อมคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา จึงมาหารือกับกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับนโยบายด้านแรงงานเพื่อขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า การมาเยี่ยมคารวะและหารือประเด็นด้านแรงงานกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ในครั้งนี้ได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปยังกระทรวงแรงงานในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อให้พี่น้องแรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สอดคล้องกับค่าครองชีพ ต้องเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน เพื่อไม่ให้ไทยสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุน และที่สำคัญการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต้องผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อจะได้ทบทวบสถานการณ์และความเหมาะสมในทุกมิติอย่างรอบด้าน ส่วนการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการประกันสังคมนั้น ซึ่งขณะนี้สำนักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างการจัดเตรียมการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารด้านการเงินการลงทุนของคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งในส่วนนี้ต้องมองถึงความคุ้มค่าของระบบการเลือกตั้งดังกล่าว และแนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานที่ปัจจุบันยังกระจัดกระจายอยู่ 13 ฉบับ รวมแล้วกว่า 1,146 มาตรานั้น ต้องนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเกิดประโยชน์กับผู้ใช้กฎหมาย

“ผลจากการหารือในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่กำหนด ที่สำคัญจะช่วยให้การดำเนินการเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องภาคแรงงานอีกด้วย”พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวท้ายสุด

ในการนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ และคณะกรรมาธิการการแรงงานยังได้เยี่ยมชมการให้บริการของศูนย์ช่วยเหลือแรงงานและติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล กระทรวงแรงงาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างอาคารกระทรวงแรงงาน โดยศูนย์แห่งนี้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกแก่แรงงานไทยที่กลับมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลเพื่อยื่นขอรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ

ด้าน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับมาตรการรองรับแรงงานไทยที่กลับมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลนั้น ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้หาตลาดใหม่ให้แรงงานไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับอิสราเอล เช่น เกาหลี ออสเตรเลีย โดยเจรจากับนายจ้างเจ้าของฟาร์ม เพื่อจัดส่งแรงงานไปทำงานในประเทศอื่นๆ แทน เป็นการแก้ปัญหาในเบื้องต้น นอกจากนี้ จะหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาตำแหน่งงานให้แรงงานไทยที่กลับมาจากอิสราเอลซึ่งมีทักษะสูงให้ได้มีงานทำ ทั้งนี้ เพื่อนำพากระทรวงแรงงานให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ

Tags:

TOP