รมว. แรงงาน ต้อนรับนางไซดา มูนา ทัสนีม (H.E. Ms. Saida Muna Tasneem) ทูตบังกลาเทศ หารือประเด็นความร่วมมือด้านแรงงาน เตรียมร่าง MOU นำเข้าแรงงานประมงทะเลและกิจการก่อสร้าง มั่นใจไทยไม่สร้างปัญหาค้ามนุษย์
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับนางไซดา มูนา ทัสนีม (H.E. Ms. Saida Muna Tasneem) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศประจำประเทศไทย โดยมีผู้บริหารกระทรวงแรงงานให้การต้อนรับ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะพร้อมหารือประเด็นการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานประมงทะเลและกิจการก่อสร้าง ณ ห้องรับรองรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า ประเทศไทยมีประสบการณ์ในการเป็นทั้งผู้นำเข้าแรงงานต่างประเทศและส่งออกแรงงานไปทำงานในต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายมากว่า 20 ปี ขณะเดียวกันแรงงานผิดกฎหมายก็เข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้การดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
“เป็นที่ทราบดีว่าประชากรของบังกลาเทศมีความสามารถทางด้านแรงงาน แต่ว่าการจะดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐ (เอ็มโอยู) จะต้องมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านการนำเข้าและส่งออกแรงงานระหว่างประเทศไทยกับบังกลาเทศลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยยินดีที่จะรับฟังข้อเสนอและร่วมมือกันต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาพบว่ามีบริษัททำงานเกี่ยวกับแรงงานหรือบริษัทจัดหางานจะมีเส้นแบ่งที่บางมากระหว่างการทำธุรกิจที่ดีกับความเสี่ยงในการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงานต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพื่อสกัดบริษัทจัดหางานที่ดำเนินการผิดกฎหมายให้พ้นไปจากวงจรการจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินการด้านนี้ยังต้องอาศัยบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาเป็นตัวช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของการจัดส่งแรงงานมากที่สุด
ทั้งนี้ การทำงานร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐ (Memorandum of Understanding : MOU) ในส่วนของการบริหารในรายละเอียดจำเป็นต้องมีบริษัทจัดหางานที่จะเข้ามาดำเนินการแต่โดยภาครัฐต้องรับรู้ทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวไม่ได้ห่วงอะไรมากนักเพราะทราบดีว่าบังกลาเทศเป็นประเทศที่จัดส่งแรงงานไปหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม จะต้องนำสิ่งที่ดีของทั้ง 2 ประเทศเพื่อมาทำงานร่วมกันต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยเฉพาะแรงงานประมง ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้มีการใช้กฎกระทรวงในการคุ้มครองแรงงานประมง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อมาดูแลแรงงานประมงทุกสัญชาติที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ คาดว่าการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
นางไซดา มูนา ทัสนีม (H.E. Ms. Saida Muna Tasneem) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะในครั้งนี้เพื่อหารือเรื่องการวางแผนที่ดีในการจัดทำเอ็มโอยูร่วมกันในอนาคต ทั้งนี้ อยากให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้นำในเรื่องนี้เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานในการดำเนินการที่ดีของการเริ่มต้นทำงานร่วมกัน โดยบังกลาเทศมีลักษณะของแรงงานที่ขยัน ตั้งใจทำงานและรักสงบ ทั้งนี้ บังกลาเทศมีจำนวนแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั่วโลกกว่า 9 ล้านคน
“เป็นที่ทราบดีว่าประชากรของบังกลาเทศมีความสามารถทางด้านแรงงาน แต่ว่าการจะดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐ (เอ็มโอยู) จะต้องมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านการนำเข้าและส่งออกแรงงานระหว่างประเทศไทยกับบังกลาเทศลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยยินดีที่จะรับฟังข้อเสนอและร่วมมือกันต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาพบว่ามีบริษัททำงานเกี่ยวกับแรงงานหรือบริษัทจัดหางานจะมีเส้นแบ่งที่บางมากระหว่างการทำธุรกิจที่ดีกับความเสี่ยงในการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงานต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพื่อสกัดบริษัทจัดหางานที่ดำเนินการผิดกฎหมายให้พ้นไปจากวงจรการจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินการด้านนี้ยังต้องอาศัยบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาเป็นตัวช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของการจัดส่งแรงงานมากที่สุด
ทั้งนี้ การทำงานร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐ (Memorandum of Understanding : MOU) ในส่วนของการบริหารในรายละเอียดจำเป็นต้องมีบริษัทจัดหางานที่จะเข้ามาดำเนินการแต่โดยภาครัฐต้องรับรู้ทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวไม่ได้ห่วงอะไรมากนักเพราะทราบดีว่าบังกลาเทศเป็นประเทศที่จัดส่งแรงงานไปหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม จะต้องนำสิ่งที่ดีของทั้ง 2 ประเทศเพื่อมาทำงานร่วมกันต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยเฉพาะแรงงานประมง ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้มีการใช้กฎกระทรวงในการคุ้มครองแรงงานประมง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อมาดูแลแรงงานประมงทุกสัญชาติที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ คาดว่าการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
นางไซดา มูนา ทัสนีม (H.E. Ms. Saida Muna Tasneem) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะในครั้งนี้เพื่อหารือเรื่องการวางแผนที่ดีในการจัดทำเอ็มโอยูร่วมกันในอนาคต ทั้งนี้ อยากให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้นำในเรื่องนี้เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานในการดำเนินการที่ดีของการเริ่มต้นทำงานร่วมกัน โดยบังกลาเทศมีลักษณะของแรงงานที่ขยัน ตั้งใจทำงานและรักสงบ ทั้งนี้ บังกลาเทศมีจำนวนแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั่วโลกกว่า 9 ล้านคน
“จากการออกกฎกระทรวงในการคุ้มครองแรงงานประมงพิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงานได้ให้ความสนใจและเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ทำให้บังกลาเทศเกิดความปลอดภัยในเรื่องของการส่งแรงงานมาทำงานในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของบริษัทจัดหางานที่ไม่ดี ยืนยันว่าจะไม่เกิดการปฏิบัติที่ไม่ดีจนนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างแน่นอน” เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ กล่าว
Mr. Md. Ali Haider Chowdhury รองประธานอาวุโส Bangladesh Association of International Recruiting Agencies (BAIRA) สมาคมจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศของบังกลาเทศกล่าวว่า ยืนยันว่าในหน่วยงานของ BAIRA ได้มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration : IOM) โดย BAIRA ตระหนักถึงคำว่า DECENT WORK (งานที่มีคุณค่า) รวมถึงการป้องกันเรื่องการค้ามนุษย์ เพราะเป็นภารกิจหลักของ BAIRA และยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดปัญหาค้ามนุษย์อย่างแน่นอน
Mr. Md. Ali Haider Chowdhury รองประธานอาวุโส Bangladesh Association of International Recruiting Agencies (BAIRA) สมาคมจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศของบังกลาเทศกล่าวว่า ยืนยันว่าในหน่วยงานของ BAIRA ได้มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration : IOM) โดย BAIRA ตระหนักถึงคำว่า DECENT WORK (งานที่มีคุณค่า) รวมถึงการป้องกันเรื่องการค้ามนุษย์ เพราะเป็นภารกิจหลักของ BAIRA และยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดปัญหาค้ามนุษย์อย่างแน่นอน
“กระทรวงแรงงานบริการด้วยใจ เพื่อคนไทยมีงานทำ”
กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/
วิชชุลดา บัวชัย – ข่าว/
สมภพ ศีลบุตร – ภาพ/
10 กุมภาพันธ์ 2558