วันนี้ (19 พ.ค.)เวลา 13.30 น. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้พบปะสื่อมวลชน พูดคุยถึงผลการเดินทางไปเยือนประเทศกลุ่ม CLMV เพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ร่วมกัน โดยกล่าวว่า”แก้ปัญหาค้ามนุษย์”ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลซึ่งมีอยู่หลายด้าน แต่ในส่วนของแรงงาน จะมีประเด็นที่ถูกกล่าวถึง คือ “การใช้แรงงานต่างด้าว” ซึ่งเราต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในกิจการบางประเภท หากไม่มีแรงงานต่างด้าวจะส่งผลต่อภาคการผลิตและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
การเข้ามาของแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากเข้ามาอย่างถูกต้องแล้ว บางส่วนมีการลักลอบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงได้มีการจัดระบบในเรื่องนี้อย่างจริงจังดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ ทั้งเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม (CLMV) เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาและรับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้จากการประชุม CLMV ที่กรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้วว่า “เราต้องเดินไปด้วยกัน เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”จากการไปแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างตามสภาพพื้นฐานของประเทศนั้น ๆ และการเดินทางไปของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ถือว่าได้รับการตอบรับจากทุกประเทศ พร้อมได้รับการชื่นชมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพราะเขาก็ต้องดูแลคนของเขา เราก็ต้องดูแลความเหมาะสมให้พอเหมาะ พอดี กับการใช้แรงงานในประเทศเรานอกจากนี้เป็นการไปตกลงร่วมกันในการจัดส่งแรงงานตั้งแต่ต้นทางที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงกระบวนการกลางทางซึ่งเป็นขั้นตอนการดำเนินการส่ง-รับแรงงาน และกำหนดกติกาปลายทางที่เราเป็นผู้รับและส่งกลับ เมื่อหมดห้วงระยะการทำงานแต่ละคนจะเป็นการจัดระบบระเบียบครั้งสำคัญ เพราะเรากำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพูและที่มีเอกสารเดินทางและใบอนุญาตหมดอายุตามที่ทราบกันอยู่ว่าให้มารายงานตัวให้แล้วเสร็จภายใน 29 กรกฎาคม นี้
สำหรับผลการเจรจาแต่ละประเทศเป็นดังนี้
– ลาว วันที่ 17-19มีนาคม 2559ได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีของลาวและได้ประชุมร่วมกับ ดร.คำแพง ไชสมแพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวง อธิบดีกรมคุ้มครองแรงงานและอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของลาว ที่นครเวียงจันทร์ได้ติดตามเรื่อง MOU ในการส่งแรงงานรัฐต่อรัฐ ซึ่งลาวก็ตอบรับ เพียงแต่อยู่ระหว่างการเลือกตั้ง รอรัฐบาลใหม่อนุมัติและตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนมิถุนายนนี้ และจะใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นสถานที่ฝึกทักษะฝีมือแรงงานของ ASEAN และให้มีผู้แทนในแต่ละประเทศ ประจำที่สถาบันฯ แห่งนี้ รวมทั้งเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้ง “กองทุนแรงงาน ASEAN” ที่ลาวจะเสนอในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงาน ASEAN ด้วยตลอดจนร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสร้างการรับรู้ระเบียบ กฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางก่อนไปทำงานด้วยทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานลาวเข้ามาทำงานในไทย 222,312 คน
– กัมพูชา วันที่ 6-7 เมษายน 2559ได้ไปประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีและติดตามความคืบหน้าจากการหารือระดับวิชาการมาแล้ว มีข้อสรุปร่วมกันที่สำคัญหลายประการ คือให้มีการพัฒนาข้อมูลความต้องการแรงงานกัมพูชาโดยใช้ระบบ Onlineเพื่อการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมแรงงานกัมพูชาที่ต้องการทำงานในไทย รวมทั้งจะให้เป็น Model ของอาเซียนด้วย โดยจะเน้นร่วมมือกันในระดับรัฐบาลกับรัฐบาลเพื่อดำเนินกระบวนการนำแรงงานกัมพูชาที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สถานะที่ถูกต้องโดยไม่ให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ ทั้งนี้ กัมพูชาจะตั้งทีมเพื่อดำเนินการตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางกฎหมาย (Cambodian Legalization Committee) ให้กับแรงงานเพื่อปรับสถานะให้แรงงานทุกคนมีเอกสารประจำตัว และจะเริ่มส่งเอกสารถึงมือแรงงานกัมพูชาให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้นอกจากนี้กัมพูชาจะจัดฝึกอบรมแรงงานกัมพูชาทุกคนก่อนการเดินทางเข้ามาทำงานในไทยโดยทั้งสองฝ่ายจะกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลบริเวณชายแดน มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานในกลุ่มนี้มาทำงานในประเทศไทยใน 5 จังหวัดชายแดน (ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, จันทบุรี และตราด) รวม 14,349 คนและทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา ที่ปูนพนมซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันช่วยเหลือแรงงานกัมพูชา (ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2539)ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในไทย 724,802 คน
– เวียดนาม วันที่ 19-20 เมษายน 2559ไทยและเวียดนามได้มีการลงนาม MOU กันแล้ว เป็นการไปประชุมหารือร่วมกันในการนำเข้าแรงงานเวียดนามตามข้อตกลงฯ ด้านการจ้างแรงงาน อาทิการกำหนดสัญญาว่าจ้าง ที่รัฐบาลไทยให้การรับรอง และดูแลผู้ใช้แรงงานตามกฎหมาย /การตรวจร่างกายทั้งก่อนมาทำงานในไทย และเมื่อเดินทางมาถึงไทยแล้ว และการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านสิทธิตามกฎหมายไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ก่อนมาไทย พร้อมให้มีการอบรมเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเมื่อมาทำงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายในการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานให้ผู้ประกอบการและเน้นการจัดระบบแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะได้รับการคุ้มครอง ได้รับสิทธิประโยชน์ และนำไปสู่การป้องกันการหลอกลวง และปัญหาการค้ามนุษย์มิให้เกิดขึ้นอีกด้วยทั้งนี้ การนำเข้าแรงงานเวียดนาม จะให้เข้ามาเฉพาะสาขาประมงและก่อสร้าง และจำนวนคนเท่าที่ผู้ประกอบการต้องการเท่านั้น และขอให้เวียดนามส่งผู้ฝึกสอนภาษาเวียดนาม เป็นการเพิ่มเติมทักษะให้กับคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนและแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเวียดนามระดับหัวหน้า หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคประมาณ 1,000 คน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารด้วย
– เมียนมา วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2559เป็นการประชุมหารืออย่างเป็นทางการกับ นายเต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ของเมียนมา ที่เมืองเนปิดอว์มีความคืบหน้าการจะดำเนินการร่วมกันในการจัดส่งแรงงานตาม MOU เป็นการจัดส่ง แบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งทางเมียนมามีความพร้อม และรัฐบาลได้อนุมัติMOU ดังกล่าวแล้วทั้งนี้ ตามข้อตกลงการจ้างแรงงานตาม Agreement จะดำเนินการในรายละเอียด โดยจัดตั้งคณะทำงานทั้งสองฝ่ายให้แล้วเสร็จภายในมิถุนายน ทั้งเรื่องการเปิดจุดเข้าออกของแรงงานที่มีอยู่ 3 จุด (เชียงราย, ตาก, ระนอง) เพิ่มขึ้นอีกจุดหนึ่งที่พุน้ำร้อน กาญจนบุรีและเปิดศูนย์อบรมที่ชายแดนเพื่อเป็นการปฐมนิเทศก่อนเข้ามาทำงานและส่งกลับเพื่อตรวจสอบสิทธิประโยชน์โดยเน้นความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานและการเข้าสู่ระบบประกันสังคมของแรงงานที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อมิให้มีการหลอกลวงแรงงาน ป้องกันแรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่การค้ามนุษย์และฝ่ายไทยขอความร่วมมือให้เมียนมาประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนเมียนมาได้ทราบข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาสื่อมักจะนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นผลลบต่อเราทั้งนี้ปัจจุบันแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานในไทย 1,601,915 คน
– ลาว วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2559ไปประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 24 และรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ครั้งที่ 9 ที่นครเวียงจันทร์ มีสาระสำคัญคือที่ประชุมได้รับรอง โครงการขับเคลื่อนความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่ไทยเสนอ โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการในบางธุรกิจของประเทศนั้น ๆ ตามความสมัครใจและที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบให้เข้าสู่การจ้างงานในระบบ มีการทำงานที่มีคุณค่า ได้รับการคุ้มครองแรงงานและสิทธิอันพึงมีพึงได้ของแรงงานอาเซียน มีโอกาสสร้างหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีวิตซึ่งในเรื่องนี้รัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมว่า ไทยเราให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และในการดำเนินการให้เข้าสู่ในระบบรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่นจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับจังหวัด ดำเนินโครงการประชารัฐ การจัดตั้งกองทุนสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านและโครงการประกันสังคมแบบสมัครใจ ทำให้ที่ประชุมเห็นความก้าวหน้าของเราในเรื่องนี้ชัดเจนขึ้นและเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ร่างตราสารอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวซึ่งใช้เวลากว่า 9 ปี ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะกฎหมายแต่ละประเทศต่างกันที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการยกร่างให้แล้วเสร็จภายในเมษายนปีหน้าโดยสรุปการประชุม รัฐมนตรีอาเซียน และอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)ทุกประเทศได้เห็นความก้าวหน้าของเราในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การดูแลและการให้สิทธิตามกฎหมาย ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศCLMV ที่เราได้ไปพบปะหารือมาก่อนหน้านี้ ต่างให้การสนับสนุนแนวทางของเราในเวทีอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)เป็นอย่างดี
ท้ายที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงผลสำเร็จจากการไปประชุมหารือร่วมกันทั้ง 4 ประเทศดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการสร้างความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านแรงงานของกลุ่มประเทศ CLMVได้อย่างเป็นระบบ จัดระเบียบให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นทางคือ ก่อนส่งแรงงาน และกลางทางคือ กระบวนการจัดส่งแรงงานให้ถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้มีการหลอกลวง และปลายทางคือ เมื่อเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องแล้ว ให้มีสิทธิประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจัดระบบจัดส่งแรงงานดังกล่าวนี้ นอกจากเป็นการป้องกันการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานแล้วยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีแก่นานาประเทศในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานของประเทศไทยในสายตาชาวโลกด้วย
สำหรับผลการเจรจาแต่ละประเทศเป็นดังนี้
– ลาว วันที่ 17-19มีนาคม 2559ได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีของลาวและได้ประชุมร่วมกับ ดร.คำแพง ไชสมแพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวง อธิบดีกรมคุ้มครองแรงงานและอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของลาว ที่นครเวียงจันทร์ได้ติดตามเรื่อง MOU ในการส่งแรงงานรัฐต่อรัฐ ซึ่งลาวก็ตอบรับ เพียงแต่อยู่ระหว่างการเลือกตั้ง รอรัฐบาลใหม่อนุมัติและตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนมิถุนายนนี้ และจะใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นสถานที่ฝึกทักษะฝีมือแรงงานของ ASEAN และให้มีผู้แทนในแต่ละประเทศ ประจำที่สถาบันฯ แห่งนี้ รวมทั้งเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้ง “กองทุนแรงงาน ASEAN” ที่ลาวจะเสนอในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงาน ASEAN ด้วยตลอดจนร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสร้างการรับรู้ระเบียบ กฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางก่อนไปทำงานด้วยทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานลาวเข้ามาทำงานในไทย 222,312 คน
– กัมพูชา วันที่ 6-7 เมษายน 2559ได้ไปประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีและติดตามความคืบหน้าจากการหารือระดับวิชาการมาแล้ว มีข้อสรุปร่วมกันที่สำคัญหลายประการ คือให้มีการพัฒนาข้อมูลความต้องการแรงงานกัมพูชาโดยใช้ระบบ Onlineเพื่อการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมแรงงานกัมพูชาที่ต้องการทำงานในไทย รวมทั้งจะให้เป็น Model ของอาเซียนด้วย โดยจะเน้นร่วมมือกันในระดับรัฐบาลกับรัฐบาลเพื่อดำเนินกระบวนการนำแรงงานกัมพูชาที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สถานะที่ถูกต้องโดยไม่ให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ ทั้งนี้ กัมพูชาจะตั้งทีมเพื่อดำเนินการตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางกฎหมาย (Cambodian Legalization Committee) ให้กับแรงงานเพื่อปรับสถานะให้แรงงานทุกคนมีเอกสารประจำตัว และจะเริ่มส่งเอกสารถึงมือแรงงานกัมพูชาให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้นอกจากนี้กัมพูชาจะจัดฝึกอบรมแรงงานกัมพูชาทุกคนก่อนการเดินทางเข้ามาทำงานในไทยโดยทั้งสองฝ่ายจะกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลบริเวณชายแดน มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานในกลุ่มนี้มาทำงานในประเทศไทยใน 5 จังหวัดชายแดน (ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, จันทบุรี และตราด) รวม 14,349 คนและทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา ที่ปูนพนมซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันช่วยเหลือแรงงานกัมพูชา (ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2539)ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในไทย 724,802 คน
– เวียดนาม วันที่ 19-20 เมษายน 2559ไทยและเวียดนามได้มีการลงนาม MOU กันแล้ว เป็นการไปประชุมหารือร่วมกันในการนำเข้าแรงงานเวียดนามตามข้อตกลงฯ ด้านการจ้างแรงงาน อาทิการกำหนดสัญญาว่าจ้าง ที่รัฐบาลไทยให้การรับรอง และดูแลผู้ใช้แรงงานตามกฎหมาย /การตรวจร่างกายทั้งก่อนมาทำงานในไทย และเมื่อเดินทางมาถึงไทยแล้ว และการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านสิทธิตามกฎหมายไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ก่อนมาไทย พร้อมให้มีการอบรมเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเมื่อมาทำงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายในการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานให้ผู้ประกอบการและเน้นการจัดระบบแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะได้รับการคุ้มครอง ได้รับสิทธิประโยชน์ และนำไปสู่การป้องกันการหลอกลวง และปัญหาการค้ามนุษย์มิให้เกิดขึ้นอีกด้วยทั้งนี้ การนำเข้าแรงงานเวียดนาม จะให้เข้ามาเฉพาะสาขาประมงและก่อสร้าง และจำนวนคนเท่าที่ผู้ประกอบการต้องการเท่านั้น และขอให้เวียดนามส่งผู้ฝึกสอนภาษาเวียดนาม เป็นการเพิ่มเติมทักษะให้กับคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนและแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเวียดนามระดับหัวหน้า หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคประมาณ 1,000 คน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารด้วย
– เมียนมา วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2559เป็นการประชุมหารืออย่างเป็นทางการกับ นายเต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ของเมียนมา ที่เมืองเนปิดอว์มีความคืบหน้าการจะดำเนินการร่วมกันในการจัดส่งแรงงานตาม MOU เป็นการจัดส่ง แบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งทางเมียนมามีความพร้อม และรัฐบาลได้อนุมัติMOU ดังกล่าวแล้วทั้งนี้ ตามข้อตกลงการจ้างแรงงานตาม Agreement จะดำเนินการในรายละเอียด โดยจัดตั้งคณะทำงานทั้งสองฝ่ายให้แล้วเสร็จภายในมิถุนายน ทั้งเรื่องการเปิดจุดเข้าออกของแรงงานที่มีอยู่ 3 จุด (เชียงราย, ตาก, ระนอง) เพิ่มขึ้นอีกจุดหนึ่งที่พุน้ำร้อน กาญจนบุรีและเปิดศูนย์อบรมที่ชายแดนเพื่อเป็นการปฐมนิเทศก่อนเข้ามาทำงานและส่งกลับเพื่อตรวจสอบสิทธิประโยชน์โดยเน้นความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานและการเข้าสู่ระบบประกันสังคมของแรงงานที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อมิให้มีการหลอกลวงแรงงาน ป้องกันแรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่การค้ามนุษย์และฝ่ายไทยขอความร่วมมือให้เมียนมาประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนเมียนมาได้ทราบข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาสื่อมักจะนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นผลลบต่อเราทั้งนี้ปัจจุบันแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานในไทย 1,601,915 คน
– ลาว วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2559ไปประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 24 และรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ครั้งที่ 9 ที่นครเวียงจันทร์ มีสาระสำคัญคือที่ประชุมได้รับรอง โครงการขับเคลื่อนความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่ไทยเสนอ โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการในบางธุรกิจของประเทศนั้น ๆ ตามความสมัครใจและที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบให้เข้าสู่การจ้างงานในระบบ มีการทำงานที่มีคุณค่า ได้รับการคุ้มครองแรงงานและสิทธิอันพึงมีพึงได้ของแรงงานอาเซียน มีโอกาสสร้างหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีวิตซึ่งในเรื่องนี้รัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมว่า ไทยเราให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และในการดำเนินการให้เข้าสู่ในระบบรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่นจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับจังหวัด ดำเนินโครงการประชารัฐ การจัดตั้งกองทุนสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านและโครงการประกันสังคมแบบสมัครใจ ทำให้ที่ประชุมเห็นความก้าวหน้าของเราในเรื่องนี้ชัดเจนขึ้นและเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ร่างตราสารอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวซึ่งใช้เวลากว่า 9 ปี ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะกฎหมายแต่ละประเทศต่างกันที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการยกร่างให้แล้วเสร็จภายในเมษายนปีหน้าโดยสรุปการประชุม รัฐมนตรีอาเซียน และอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)ทุกประเทศได้เห็นความก้าวหน้าของเราในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การดูแลและการให้สิทธิตามกฎหมาย ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศCLMV ที่เราได้ไปพบปะหารือมาก่อนหน้านี้ ต่างให้การสนับสนุนแนวทางของเราในเวทีอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)เป็นอย่างดี
ท้ายที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงผลสำเร็จจากการไปประชุมหารือร่วมกันทั้ง 4 ประเทศดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการสร้างความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านแรงงานของกลุ่มประเทศ CLMVได้อย่างเป็นระบบ จัดระเบียบให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นทางคือ ก่อนส่งแรงงาน และกลางทางคือ กระบวนการจัดส่งแรงงานให้ถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้มีการหลอกลวง และปลายทางคือ เมื่อเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องแล้ว ให้มีสิทธิประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจัดระบบจัดส่งแรงงานดังกล่าวนี้ นอกจากเป็นการป้องกันการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานแล้วยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีแก่นานาประเทศในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานของประเทศไทยในสายตาชาวโลกด้วย
กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/
19 พฤษภาคม 2559
“OUR HOME OUR COUNTRY TOGETHER STRONGER”
“เราจะเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน เพราะที่นี่คือ บ้านของเรา ประเทศไทยของเรา”