Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

วันที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 8/2567 โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ประธานคณะทำงานรัฐมนตรี นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวบุณยวีร์ ไขว้พันธุ์หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายสันติ นันตสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน นายเกริกไกร นาสมยนต์ ผู้ตรวจราชการกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย นายณัฐวุฒิ ภัทรประยูร จัดหางานจังหวัดร้อยเอ็ด รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม กระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบายในการบริหารราชการให้กับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้กระทรวงแรงงานเป็นเอกภาพและเป็นที่ยอมรับ ต่อไป

pll_content_description

   วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นาย อารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กระทรวงแรงงาน  ระดมร่วมมือบุคลากรกระทรวงฯ บรรจุถุงยังชีพ อีกกว่า 3,100 ถุง รวมมูลค่าแล้วกว่า 1.8 ล้านบาท พร้อมส่งขึ้นรถบรรทุก จำนวน 3 คัน ส่งถึงพี่น้องน้ำท่วมภาคใต้ ณ บริเวณโถงชั้นล่าง อาคารกระทรวงแรงงาน

.

   นายพิพัฒน์ กล่าวว่า  จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 78 อำเภอ 515 ตำบล 3,552 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 684,388 ครัวเรือนและมีผู้เสียชีวิต 9 ราย ในวันนี้ผมพร้อมด้วยท่านปลัดกระทรวงแรงงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจึงได้ร่วมกันจัดเตรียมถุงยังชีพเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ โดยเบื้องต้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ท่านบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ให้ 5 เสือแรงงานมอบถุงยังชีพไปแล้ว จำนวน 540 ถุง คิดเป็นเงินมูลค่า 270,000 บาท และวันนี้ได้ทำการมอบถุงยังชีพเพิ่มอีก จำนวน 3,100 ถุง รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,550,000 บาท   โดยผมมีแผนลงพื้นที่  ปักหลัก ตั้งแต่วันที่ 4-7 ธันวาคมนี้  โดยร่วมกับผู้บริหารกระทรวงแรงงาน    กระจายความช่วยเหลืออยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ฯลฯ

.

    นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้มอบเงินเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องครอบครัวแรงงาน และเครือข่ายด้านแรงงาน ในจังหวัดสงขลา จำนวน 38 ราย เป็นเงิน 69,000 บาท จังหวัดปัตตานี จำนวน 21 ราย เป็นเงิน 52,500 บาท จังหวัดยะลา จำนวน 46 ราย เป็นเงิน 115,000 บาท และจังหวัดนราธิวาส จำนวน 64 ราย เป็นเงิน 141,000 บาท ในส่วนของมาตรการการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ของกระทรวงแรงงานนั้น ประกอบด้วย การลดอัตราเงินสมทบและขยายระยะเวลาการส่งเงินสมทบแก่ลูกจ้างผู้ประกันตนลูกจ้างผู้ประกันตนที่สถานประกอบการถูกน้ำท่วมทำให้ต้องหยุดงานไม่สามารถไปทำงานได้ สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย  การขึ้นทะเบียนประกันการว่างงาน ผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน การสำรวจความต้องการโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ เพื่อช่วยเหลือจ้างงานภายหลังน้ำลด กรณีที่อยู่อาศัยของลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นเหตุให้ไปทำงานไม่ได้หรือเข้าทำงานสาย ขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่ถือเป็นวันลา รวมถึง จัดทีมช่างฟื้นฟูในพื้นที่หลังน้ำลด เช่น ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำงาน บ้านเรือน รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์เล็กทางการเกษตร

.

     ด้านนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เครื่องอุปโภค บริโภค เหล่านี้เราได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกีดกระทรวงแรงงาน  และขอขอบคุณ ภาคีเครือข่ายของทุกกรม ที่ร่วมด้วยช่วยกัน โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นศูนย์กลาง  ในส่วนของหน่วยงานสถานประกอบการภาคเอกชน สามารถร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคผ่านกระทรวงแรงงานได้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยอาหารสำเร็จรูปที่นำมาบริจาคขอให้เป็นอาหารฮาลาล  และหากพี่น้องภาคใต้พื้นที่ไหนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ก็ขอให้แจ้งเข้ามาที่กระทรวงแรงงาน หรือ 5  เสือแรงงาน อาสาสมัครแรงงาน บัณฑิตแรงงานในพื้นที่ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ซึ่งกระทรวงแรงงานจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ เพื่อให้ทุกคนสามารถกลับมาทำงาน ประกอบอาชีพได้ตามปกติ  

Tags:

TOP