Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

ด้วยสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับธุรกิจรับสร้างบ้าน และพัฒนาธุรกิจให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและบุคคลทั่วไป จนถึงปัจจุบันได้สร้างการรับรู้ทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชนว่าเป็นสมาคมที่ช่วยเหลือผู้บริโภคที่ต้องการสร้างบ้านบนที่ดินให้ได้บ้านที่มีมาตรฐาน อีกทั้งเป็นธุรกิจต้นน้ำที่นำพาธุรกิจที่เกี่ยวข้องสร้างรายได้ให้แก่ประเทศชาติ ทั้งวัสดุก่อสร้าง ผู้รับเหมารายย่อย กระบวนการจัดส่งสินค้าและอื่น ๆ อีกมากมาย ในปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 109 สมาชิก แบ่งเป็น 1. สมาชิกสามัญ จำนวน 33 บริษัท (ธุรกิจรับสร้างบ้าน) 2. สมาชิกวิสามัญ ก. จำนวน 6 บริษัท (ธุรกิจรับสร้างบ้าน) 3. สมาชิกวิสามัญ ข. จำนวน 66 บริษัท (ผู้ผลิตจำน่ายวัสดุก่อสร้างและบริการที่เกี่ยวข้อง) ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จากการประมาณการมีมูลค่าทางธุรกิจรับสร้างบ้าน 50,000 ล้านบาทต่อปี (ในส่วนของสมาคมฯ มีมูลค่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ) ทั้งนี้ยังไม่ได้นับรวมมูลค่าในต่างจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่า 100,000 ล้านบาท ต่อปี จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท และการปรับฐานเงินเดือนของผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนในการทำธุรกิจรับสร้างบ้าน ดังนี้ 1. ค่าแรงทางตรงจ่ายให้แรงงานทำงานหน้าหน่วยงาน เพิ่มสูงขึ้น 40% 2. ค่าแรงทางอ้อมในงานส่วนที่เหมางาน เช่น งานระบบไฟฟ้า , ประปา , อื่น ๆ 3. ค่าวัสดุก่อสร้างที่ต้องปรับขึ้น 4. ต้นทุนบริหารงานภายในองค์กรเพิ่มสูงขึ้น 5. นายจ้างมีภาระที่จะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน เพิ่มขึ้น จากผลกระทบดังกล่าว อาจสรุปเป็นประเด็นปัญหาต่อการดำเนินการทำธุรกิจรับสร้างบ้าน ดังนี้ 1. งานส่วนที่ยังไม่รับ เนื่องจากขาดความชัดเจนส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถกำหนดนโยบายต่างๆรวมถึงนโยบายด้านราคาได้เลย 2. งานส่วนที่รับมาแล้ว แต่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา งานส่วนนี้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมาก เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยไม่สามารถไปร้องขอเงินเพิ่มจากผู้ว่าจ้างได้ จึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจต้องขาดทุนและขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง มุมมองผลกระทบในส่วนงานที่รับมาแล้ว ในมิติมูลค่ารวมของธุรกิจรับสร้างบ้าน แบ่งเป็น 1. บ้านสร้างเองในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล รวม 20,000 หลังต่อปีประมาณการ(3 กค.54 – 31 ธค. 54 ) รวม 6 เดือน ดังนั้นเท่ากับมีงานสร้างบ้านที่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้ 10,000 หลัง x 300,000 บาทต่อหลัง เท่ากับ 3,000,000,000 บาท ( สามพันล้านบาท ) 2. บ้านสร้างเองทั่วประเทศ รวม 40,000 หลังต่อปี ประมาณการ ( 3 กค. 54 – 31 ธค. 54 ) รวม 6 เดือน ดังนั้นเท่ากับมีงานสร้างบ้านที่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้ 20,000 หลัง x 300,000 บาทต่อหลังเท่ากับ 6,000,000,000 บาท(หกพันล้านบาท ) หมายเหตุ 1 1. ระยะเวลาที่นำมาคำนวณจากสมมุติฐานรวม 6 เดือน นั้นเป็นงานที่รับช่วงเวลา(3 กค. 54 – 31 ธค.54 ) 2. ภาระที่เพิ่มขึ้น 300,000 บาทต่อหลัง ( ดูรายละเอียดหัวข้อถัดไป ) มุมมองผลกระทบในส่วนงานที่รับมาแล้ว ในมิติของผู้ประกอบการแต่ละราย ของธุรกิจรับสร้างบ้าน จากการประมาณการบ้าน 250 ตร.ม ใช้แรงงาน 7 คน ปัจจุบันที่จ่ายกันขั้นต่ำ 220 บาทต่อวัน หากปรับเพิ่ม300 บาท เท่ากับเพิ่ม 80 บาทต่อคน รวม 7 คน 560 บาทต่อวัน หรือ 16,800 บาท ต่อเดือนต่อหน่วยงาน จากข้อมูลบริษัทขนาดกลาง มีงานที่ต้องรับผิดชอบ รวม 20 หน่วยงาน เท่ากับว่าต้องใช้เงินเพิ่มเข้าไปในระบบเพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ 336,000 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่รวม ค่าแรงทางอ้อมที่ต้องปรับขึ้น เช่นงานไฟฟ้า งานประปา งานติดตั้งโครงหลังคา อื่นๆ และยังไม่รวมค่าวัสดุที่ปรับขึ้น รวมถึงค่าดำเนินการจากนโยบาย 15,000 บาท จากการประมาณการดังกล่าว คาดว่าจะต้องมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 450,000-500,000 บาท ต่อเดือน ( 300,000 บาทต่อหลัง ) หากบ้านในส่วนนี้ต้องใช้เวลาก่อสร้าง 12 เดือน เท่ากับต้องหาเงินมารองรับ 6,000,000 บาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ประกอบการ SME จะรองรับปัญหานี้ได้ และเมื่อไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จได้ ปัญหานี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายปัญหาตามมา ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงต้องถูกดำเนินคดีจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน , ร้านค้าวัสดุ , อื่นๆ รวมถึงการเลิกจ้าง และปิดกิจการในลักษณะล้มละลายในที่สุด ข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบ 1. เลื่อนการประกาศใช้ออกไปอย่างน้อย 1 ปี คือ เริ่ม 1 มกราคม พ.ศ.2556 2. ปรับเปลี่ยนการประกาศใช้ออกไปเป็นช่วงๆ 3. จัดสินเชื่อพิเศษ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของผู้ประกอบการ 4. เงินชดเชย ในรูปแบบต่างๆ 5. ดูแลเรื่องราคาวัสดุก่อสร้าง

TOP